ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่
1. |
การให้ความรู้ที่เป็นข้อมูลเอกสารอิเลคทรอนิกส์
จะเป็นเนื้อหาของแต่ละรายวิชาในแบบกระฉับเข้าใจง่ายที่วิทยากรในแต่ละวิชาได้บรรยายและให้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้
โดยได้จากการสัมภาษณ์ผู้รู้โดยเฉพาะวิทยากรแต่ละท่าน จากนั้น นำมารวบรวมเป็นเนื้อหารายวิชา
และเพิ่มเติ่มตามความเหมาะสม โดยการพิจารณาของวิทยากรแต่ละท่าน
|
2. | การให้ความรู้ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวในลักษณะคลิปวีดีโอ โดยการใช้เนื้อหาของแต่ละรายวิชามาบรรยายในพื้นที่ทำงานในวิถีชีวิตประจำวันของวิทยากรแต่ละท่าน นำมาตัดต่อให้เห็นภาพการทำงานจริงและเสียงบรรยายประกอบตามขั้นตอนของแต่ละรายวิชา เป็นการย้ำให้เกิดความเข้าใจจากความรู้ที่ได้รับจากข้อมูลที่เป็นเอกสารอิเลคทรอนิกส์ |
ผู้ศึกษาเรียนรู้ควรทำความเข้าใจรายละเอียดของหลักสูตรให้ชัดเจนก่อนเริ่มศึกษาเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ เมื่อเข้าใจแล้ว ทำการเข้าสู่ห้องเรียนต่างๆ ที่บรรจุรายวิชาประจำในแต่ละห้องเรียนไว้ โดยผู้ศึกษาเรียนรู้ควรดำเนินการ ดังนี้
1. |
วางแผนการศึกษาเรียนรู้ โดยเรียงลำดับกลุ่มวิชาตามคำแนะนำ ซึ่งเริ่มจาก กลุ่มวิชาพื้นฐานมะพร้าว
กลุ่มวิชาชีพมะพร้าว กลุ่มวิชาส่งเสริมการท่องเที่ยว
และกลุ่มวิชาการจัดการการท่องเที่ยววิถีพร้าวโดยชุมชน
|
2. | เลือกรายวิชาในกลุ่มวิชา แล้วไปยังห้องเรียนชุมชนที่รับผิดชอบรายวิชานั้น จากนั้น ศึกษาเรียนรู้เอกสารเนื้อหารายวิชา แล้วศึกษาเรียนรู้คลิปวีดีโอของรายวิชานั้น ซึ่งผู้ศึกษาเรียนรู้สามารถศึกษาเรียนรู้ซ้ำกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะมั่นใจว่าเข้าใจในเนื้อหารายวิชานั้นแล้ว จึงเข้าสู่การทำแบบทดสอบรายวิชาต่อไป |
หลักสูตรความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการใช้มะพร้าวในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นหลักสูตรสำหรับการศึกษาเรียนรู้เชิงสาธารณะตามอัธยาศัย และใช้ภาษาไทยในการศึกษาเรียนรู้
หลังจากที่ได้ศึกษาเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ แล้ว หากผู้ศึกษาเรียนรู้สนใจที่จะสัมผัสกับการศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์จริงในห้องเรียนชุมชนต่างๆ สามารถประสานงานจัดกลุ่มไปศึกษาเรียนรู้การท่องเที่ยววิถีพร้าวโดยชุมชนได้ตามอัธยาศัย โดยจะเป็นการศึกษาเรียนรู้เฉพาะรายวิชา เฉพาะชุมชน หรือแบบผสมผสานก็ได้ รวมทั้ง สามารถศึกษาเรียนรู้ร่วมกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้ตามความต้องการ
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานมะพร้าว
(1) |
เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับความเป็นมา พฤกษศาสตร์มะพร้าว
และการนำมะพร้าวมาใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทย
|
(2) | เน้นการรับรู้ข้อมูลของมะพร้าวและทวนประสบการณ์ตรงที่ผู้ศึกษาเรียนรู้มีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวในชีวิตประจำวัน |
(3) | ผู้ศึกษาเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวของมะพร้าวมากขึ้น นำไปสู่การอนุรักษ์มะพร้าว ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับมะพร้าว โดยเฉพาะความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ที่เน้นการปลูกมะพร้าวเป็นพืชที่สร้างรายได้ในท้องถิ่น |
2. กลุ่มวิชาชีพมะพร้าว
(1) |
เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับอาชีพท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว
การสร้างรายได้จากต้นมะพร้าว ผลมะพร้าว และการนำส่วนต่างๆ
ของมะพร้าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะพร้าว โดยตรงและโดยอ้อม
|
(2) | เน้นการรับรู้ข้อมูลบางอาชีพที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว วิธีการประกอบอาชีพ และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว |
(3) | ผู้ศึกษาเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวของอาชีพที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมากขึ้น นำไปสู่การคิดหาช่องทางในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวหรือสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์มะพร้าว ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะพร้าว และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมะพร้าวทางอ้อม |
3. กลุ่มวิชาส่งเสริมการท่องเที่ยว
(1) |
เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการนำการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมากใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
|
(2) | เน้นการรับรู้ข้อมูลการดำเนินการที่ชุมชนสามารถนำมะพร้าวมาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและการเรียนรู้ชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว |
(3) | ผู้ศึกษาเรียนรู้เข้าใจเรื่องราววิธีการนำการประกอบอาชีพมะพร้าวมาดัดแปลงเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างแนวคิดในการสร้างสรรค์ต่อยอดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ |
4. กลุ่มวิชาการจัดการการท่องเที่ยวิถีพร้าวโดยชุมชน
(1) |
เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ใช้มะพร้าวเป็นเนื้อหาหลักในการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวในชุมชนที่มีที่ตั้งอยู่ในถิ่นเพาะปลูกมะพร้าว
|
(2) | เน้นการรับรู้ข้อมูลการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ชุมชนท่องเที่ยวได้ดำเนินการแล้วและประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ และมีนักท่องเที่ยวประเภทต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการ |
(3) | ผู้ศึกษาเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวของการจัดการการท่องเที่ยววิถีพร้าวโดยชุมชน ที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้เนื้อหาหลักอื่นๆ มาแทนการใช้มะพร้าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน |